วิธีการใช้



        1. การปรุงยาสมุนไพร

            หลักการในการปรุงยาเป็นสิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ที่เห็นคุณค่า และความสำคัญของยาไทย ซึ่งปัจจุบันยังมีประชาชนส่วนหนึ่งสนใจ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หากต้องการปรุงยาใช้เองในครัวเรือน วิธรการปรุงยาสมุนไพรมีทั้งทั้ง 25 วิธี หากต้องศึกษา โปรดดูภาคผนวก
           ถึงแม้ว่าวิธีการปรุงยาตามตำราเวชศึกษา จะระบุไว้ถึง 25 วิธีก็ตาม แต่สำหรับประชาชนโดยทั่วไปอาจทำได้บางวิธี จากการเรียนรู้ วิธีปรุงยาง่ายๆ จะช่วยให้การใช้สมุนไพรสะดวกขึ้นปรุงยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ การต้ม การชง การฝน การพอก ยาลูกกลอนน้ำผึ้ง ฯลฯ



            การปรุงยา 


            เป็นการสกัดเอาตัวยาออกจากพืชให้มากที่สุด โดยใช้น้ำ น้ำมัน หรือ เหล้า ด้วยวิธีการต้ม ชง ดอง ฝน บดเป็นผล ปั้นเป็นลูกกลอน ตำคั้นเอาน้ำเป็นต้น  
              -  ยาต้ม    เป็นการปรุงยาสมุนไพรด้วยความร้อนที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย 

            -  ยาชง   เป็นการปรุงยาโดยใช้สมุนไพรแห้งเติมด้วยน้ำร้อนลงไปเป็นตัวทำละลายส่วนใหญ่จะใช้กับส่วนของสมุนไพรที่บอบบาง อ่อนนุ่ม เช่น ดอก ใบ ไม่ต้องใช้ต้มตัวยาก็ละลายออกมาได้
        - ยาลูกกลอนน้ำผึ้ง   เป็นการปรุยาโดยใช้ยาผงผสมกับน้ำผึ้งให้เป็นเม็ด  ยาลูกกลอนน้ำผึ้งมีลักษณะกลมการแตกตัวช้า  ออกฤทธิ์ได้นาน มักใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อรังและโรคที่ต้องการบำรุ น้ำผึ้งที่ใช้ผสมจะเป็นตัวช่วยปรุงรสให้รสชาติรับประธานง่ายขึ้นช่วยบำรุงร่างกาย
           -  ยา  ตำคั้นเอาแต่น้ำใช้สมุนไพรมาตำให้ระเอียดที่สุด คั้นเอาแต่น้ำมาใช้ กากทิ้งไป สมุนไพรที่ใช้มักเป็นส่วนของพืชที่มีน้ำมาก ตำให้แหลกได้ง่าย น้ำยาที่ได้จะมีกลิ่นรสรุนแรงยามีความเข้มข้นมาก
              -  ยาฝน   เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากวิธีหนึ่ง การฝนยาใช้ขันใส่น้ำสะอาดลงไป จุ่มหินลับมีดขนาดเล็กลง ไปในน้ำ ให้หินโผล่เหนือน้ำเล็กน้อย  ฝนยากับหินมีจนได้น้ำยาสีขุ่นข้นเล็กน้อยหากไม่ฝน กับหินลับมัด  อาจฝนกับฝาละมีที่ใส่น้ำลงไป โดยตรงเลยก็โดยทั่วไป ยาฝนจะรับประทาน ครั้งละ 1 แก้ว
         - ยาพอก   เป็นยาที่ใช้ภายนอก เตรียมโดยเอาสมุนไพรสดมาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าเป็นน้ำ   กระสายยาเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นคนให้เข้ากันจากนั้นจึงนำยาไปพอกอวัยวะที่ต้องการรักษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น