ประวัติความเป็นมา

         



กิจการร้าน ป.ล.ย. สะแล่งโอสถ ทำการผลิตและปรุงยาสมุนไพร ยาแผนโบราณจำหน่ายซึ่งในการดำเนินการผลิตนั้น ได้ทำกิจการเป็นแบบครัวเรือน ซึ่งมี คุณบุญทวี กันทาแจ่ม เป็นเจ้าของกิจการ และมีภรรยาชื่อ คุณแก้วลูน กันทาแจ่ม และคุณแม่ผา กันทาแจ่ม ช่วยกันประกอบกิจการธุรกิจร้าน ป.ล.ย. สะแล่งโอสถ

             ยุคปัจจุบันของกิจการ
                  ในยุคปัจจุบันคือยุคของคุณบุญทวี กันทาแจ่ม ซึ่งเป็นลูกของคุณพ่อเอกสีลา กันทาแจ่มในยุคนี้การดำเนินกิจการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง และนับได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญยิ่งเพื่อให้ปรับเข้าตามยุคตามสมัย ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ตามที่กฎหมายกำหนด และเพื่อสร้างศรัทธา ความน่าเชื่อถือและเกิดการยอมให้เหมือนกับรุ่นเก่าๆ ที่ผ่ามา
                   ในอดีตที่ผ่านมาการผลิตยาสมุนไพร ป.ล.ย. มาจากการสืบทอดตำรับยาจากคุณปู่ยอด กันทาแจ่ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้เขียนตำรับยาขึ้นเพื่อป้องกันการสูบหายของตำรับยาเป็นคนแรก จึงได้ตั้งชื่อร้านยาและยาที่ปรุงได้จากสมุนไพรขึ้นว่า ยาแผนโบราณ ป.ล.ย. ซึ่งคำว่า ป.ล.ย. ย่อมาจากคำว่า ป้อเลี้ยงยอด หรือ พ่อเลี้ยงยอด ซึ่งเป็นชื่อของคุณปู่ของคุณบุญทวี คนทางเหนือในสมัยก่อนนิยมเรียกคนผลิตยาว่า ป้อเลี้ยงหรือ พ่อเลี้ยงและเรียกคนที่มารับยาว่า ลูกเลี้ยงคุณบุญทวี จึงได้ตั้งชื่อยาขึ้นมาว่า ยาแผนโบราณ ปอเลี้ยงยอด สะแล่งโอสถแต่ชื่อนี้เมื่อนำไปพิมพ์ลงบนฉลากยาที่ต้องจดทะเบียนตำรับยาแผนโบราณแล้ว มีความยาวเกินไปจึงได้ทำการย่อมาเป็น ยาแผนโบราณ ป.ล.ย. สะแล่งโอสถเพื่อให้คนทั่วไปสามารถจดจำชื่อยาสมุนไพรและยาแผนโบราณนี้ได้ส่วนคำว่า สะแล่งคือชื่อของหมู่บ้านซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านที่ประกอบการอยู่




ส่วนประกอบ

สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงยา





 1. โกฐทั้งเก้า
               ซึ่งได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐฬาลัมพา โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว โกฐพุงปลา โกฐชฎามังษี ซึ่งจะนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของยาหอม
         โกฐหัวบัว              สรรพคุณ        ขับลม
         โกฐสอ                  สรรพคุณ        แก้ไข้ ไอ หืด บำรุงหัวใจ
         โกฐเขมา               สรรพคุณ        แก้โรคในปากในคอ
         โกฐเชียง               สรรพคุณ        แก้ไข้ ไอ ขับลม บำรุงเลือด  
         โกฐฬาลัมพา          สรรพคุณ       แก้ไข้ที่มีผื่น เช่น หัด สุกใส แก้ไอ
         โกฐกระดูก             สรรพคุณ        แก้ลมวิงเวียน
         โกฐก้านพร้าว         สรรพคุณ        แก้ไข้ หอบ
         โกฐพุงปลา            สรรพคุณ        แก้ท้องร่วง แก้กระเพาะอาหารอักเสบ
         โกฐชฎามังษี          สรรพคุณ        ขับประจำเดือน ช่วยย่อยอาหาร
 สรรพคุณรวมของโกศทั้งเก้า ได้แก่ แก้ไข แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืด ไอ ขับลม บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
 2. เทียนดำ         สรรพคุณ        ใช้ขับลม ขับเสมหะ แก้อาเจียน บำรุงเลือด
 3. กระชาย          สรรพคุณ        แก้โรคปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้งขับระดูขาว ขับปัสวะ แก้ปวดมวนท้อง
                      4. มะแว้เครือ       สรรพคุณ        แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไขเป็นยาขมเจริญอาหาร
                      5. อบเชย            สรรพคุณ       ใช้ปรุงเป็นยาหอม และยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย
                      6. ดอกคำฝอย     สรรพคุณ        เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู เมล็ดเป็นยาถ่าย ขับประจำเดือน รักษาโรคผิวหนัง ทาแก้บวม
                      7. กานพลู           สรรพคุณ         แก้ปวดฟัน แก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ ลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่นไทฟอยด์
                      8. พริกไทยดำ     สรรพคุณ        เป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหารขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ
                      9. ขมิ้นแกง         สรรพคุณ        รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และแผลในกระเพาะอาหารช่วยให้การย่อยอาหารได้ดีขึ้น อาการจุกเสียดลดลง 
                     10. ตะไคร้           สรรพคุณ         เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
                     11. ตะไคร้หอม     สรรพคุณ         เป็นยาบีบมดลูก ขับประจำเดือน ขับปัสสาวะ ขับฤดูขาว
                     12. เปราะหอม      สรรพคุณ        ขาขัยลม แก้ท้องเฟ้อ แก้หวัด บรรเทาอาการปวดท้องได้
                     13. เจตมูลเพลิงแดง   สรรพคุณ  ขับประจำเดือน กระจายลม บำรุงธาตุ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
                     14. บอระเพ็ด        สรรพคุณ        ยาแก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน
                     15. จันทร์แดง       สรรพคุณ        แก้ไขทุกชนิด แก้เหงื่อตก กระสับกระส่าย แก้เลือดออกตามไรฟัน 
                     16. มหาหิงคุ์         สรรพคุณ        ขับลมในลำไส้ แก้ท้องขึ้นอืด เฟ้อ แน่นจุกเสียด แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้โรคเส้นประสาท ช่วยย่อยอาหาร แก้ปวด แก้ชักกระตุก
                     17. เกลือสินเธาว์สรรพคุณ  แก้พรรดำ แก้ระล่ำระสาย แก้ไข้ตรีโทษ แก้นิ่ว
                     18. การบูร            สรรพคุณ        บำรุงธาตุ ขับเสมหะ ขับลม แก้ธาตุพิการ แน่นจุกเสียด แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้ไข แก้เลือดลม ชูกำลัง บำรุงกำหนัด กระจายลม ขับเหงื่อ แก้ปวดตามเส้น แก้เคล็ดขัดยอก บวม กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมงสัตว์กัดต่อย เป็นยาชาเฉพาะที่
                     19. กาเครือ          สรรพคุณ        บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง  บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์  เป็นยาอายุวัฒนะ  ทำให้หน้าอกโต    บำรุงกำหัด
                     20. ทองพันชั่ง      สรรพคุณ        รักษาโรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร ฆ่าพยาธิ กลากเกลื้อน 




อุปกรณ์




  ภาพที่1 เครื่องชั่ง






 ภาพที่2 เครื่องผสมยา





ภาพที่ 3 บรรจุภัณฑ์





 ภาพที่ 4 เครื่องบดสมุนไพร





ภาพที่ 5 ตู้อบสมุนไพร



ขั้นตอนการผลิตยา ป.ล.ย.


การผลิตยาของร้าน ป.ล.ย. สะแล่งโอสถจะเป็นผลิตยาชนิดผง

1. ชั่งวัตถุดิบสมุนไพรที่เป็นส่วนผสม ในปริมาณที่ระบุไว้ในตำรับของสมุนไพรที่ใช้แต่ละชนิด
    ว่ามี  ส่วนผสมอะไรบ้าง ใช้สมุนไพรแต่ละชนิดมีปริมาณเท่าไร
2. ใส่วัตถุดิบสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมทั้งหมดที่ชั่งเสร็จแล้วลงไปในเครื่องผสมยาระบบไฟฟ้าใน
    การปั่นตัวยาให้เข้ากัน
3. เมื่อทำการผสมยาเสร็จแล้วก็จะได้เป็นตัวยาตามตำรับยาตามสรรพคุณในการรักษาโรค
           4. นำตัวยาที่ได้มาทำการบรรจุหีบห่อ

                   การบรรจุหีบห่อ เมื่อทำการปรุงยาเสร็จแล้ว จะบรรจุยาในหลอดบรรจุขนาดต่างๆ โดยยาชนิดผงจะบรรจุในซอง และบรรจุในหลอดเบอร์ 2, 4 และ 5 ซึ่งจะใช้เบอร์ 2 มากที่สุดและยาชนิดเม็ดจะบรรจุหลอดเบอร์ 3



ภาพการบรรจุด้วยเครื่องบรรจุหีบห่อ



                    การบรรจุยา จะใช้แรงงานคนในการบรรจุโดยคนในครอบครัวช่วยกันบรรจุ โดยส่วนใหญ่จ้างชาวบ้านมาช่วยในการบรรจุอีกแรงเป็นการช่วยชาวบ้านมีรายได้เสริมและจะได้เบาแรงสำหรับการบรรจุหีบห่อ ก็จะมีการติดฉลากยาไปด้วยทุกครั้ง  การผลิตยาในแต่ละวันจะต้องผลิตออกมาให้ทันตามที่ลูกค้าสั่งซื้อ


ภาพการบรรจุด้วยการใช้แรงงานคน

สรรพคุณของยา ป.ล.ย. ชนิดละชนิด

1. ยาบำรุงหัวใจ (ยาหอม)
              สรรพคุณ แก้ลมวิงเวียน ครั่นเหียนอาเจียน จุกเสียดท้อง ลมขึ้นเบื้องสูง แก้ไอ

          2. ยาแก้กินผิด สาบผิด (ยาหอมผงแดง)
                         สรรพคุณ แก้ลมคลื่นเหียนอาเจียน วิงเวียน หน้ามืดตามัว น้ำตาไหล จุกเสียด แน่นท้อง 
       
          3. ยาเม็ดฟ้าทลายโจร
                         สรรพคุณ แก้ปวดหัว ไข้หวัด คางทูม ทอนซิลอักเสบ ไอกรน กระเพาะอาหารและลำไส้

          4. ยาแก้โรคกระเพาะอาหาร
                        สรรพคุณ แก้ปวดหลัง จุดเสียด แน่นเฟ้อ เอ๊อะเรอ ร้อนขึ้นคอ อาการอิ่มก็ปวดท้อง 

          5. ยาคลายเส้น
                      สรรพคุณ แก้ปวดข้อ ปวดเข่า ปวดกระดูก ปวดตามเส้น เลือดลมในเส้นเดินไม่สะดวก 

          6. ยาอายุวัฒนะ แก้ธาตุไม่ปกติ
                         สรรพคุณ รักษาธาตุ ในร่างกานให้ปกติ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย

          7. ยาบำรุงเลือด
                         สรรพคุณ บำรุงโลหิต และน้ำเหลืองให้เป็นปกติ แก้โลหิตจาง แก้ธาตุพิการ

          8. ยาขับเลือด
                         สรรพคุณ แก้ระดูไม่ปกติ ขับน้ำคาวปลา แก้จุกเสียด แก้มุดกิตระดูขาว แก้อาเจียน

          9. ยาสมุนไพรกวาวเครือ
                         สรรพคุณ บำรุงเนื้อหนังให้เต่งตึง บำรุงสุขภาพให้สมบูรณ์ 

         10. ยาขี้ผึ้งสมุนไพร
                         สรรพคุณ ใช้ทาบบรรเทาอาการวิงเวียนศรีษะ คัดจมูก ปวดตามข้อ แก้ฟกช้ำ

         11. สมุนไพรขัดหน้า
                         สรรพคุณ ลบรอยจุดด่างดำ ทำให้หัวสิวหลุด ทำให้ผิวหน้าเนียนขาว

         12. ยาสมุนไพรแก้ปวดฟัน
                         สรรพคุณ ใช้อุดฟัน แก้ปวดฟัน แมงกินฟัน เหงือกเป็นหนองพองบวม น้ำกัดเท้า

         13. ยากากต้มเบอร์ 1
                         สรรพคุณ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง ลดความดันโลหิต

         14. ยากากต้มเบอร์ 2
                         สรรพคุณ แก้ตาเหลือง ตัวเหลือง มานท้องน้ำ แก้ดีซ่าน

         15. ยากากต้มเบอร์ 3
                         สรรพคุณ ขับนิ่ว ละลายก้อนนิ่ว ขับปัสสาวะ

         16. ยากากต้มเบอร์ 4
                         สรรพคุณ แก้ปวดหลัง ปวดเอว เมื่อยขบในร่างกาย บำรุงเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็ดตึง   


         17. ยาเม็ดเพชรสังฆาต
                         สรรพคุณ แก้ริดสีดวงทวาร ทั้งชนิดกลีบมะไฟและเดือยไก่ ริดสีดวงจมูก

         18. ทิงเจอร์สมุนไพร
                         สรรพคุณ ใช้ทาแก้ผดผื่นคัน แก้เริม งูสวัด ไฟลามทุ่ง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย

         19. ยาอบสมุนไพร
                       สรรพคุณ แก้เหน็บชา แก้อาการเป็นตะคริว คลายการเกร็งของกล้ามเนื้อ แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ปวดหลัง ปวดคอ เคล็ดขัดยอก เส้นกระตุก แก้ปวดตามเส้นประสาท ลดความอักเสบของข้อต่อต่างๆ ในร่างกาย ทำให้โลหิตระดูมาตามปกติ อาการผิดปกติในรอบเดือน แก้ลมผิดเดือน ช่วยขับระดูเน่าเสีย แก้มุดกิตระดูขาว ขับน้ำคาวปลา คลายเครียดร่างการผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับดี บำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื่น เต่งตึง ไร้สิวฝ้า สมานรอยแตกและบาดแผลที่ผิวหนัง แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ทำให้น้ำเหลืองเพิ่มขึ้น ช่วยขับของเสียและสารพิษออกทางเหงื่อ ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดมาหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ มากขึ้น

         20. ยาอมสมุนไพรรสบ๊วย
                      สรรพคุณ ใช้อมเป็นประจำ ช่วยระงับกลิ่นปาก ทำให้ปากหอม ชุ่มคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ ขับเสมหะ ทำให้เสียงใส

         21. ยาอมสมุนไพรรสมะนาว
                        สรรพคุณ ใช้อมเป็นประจำ ช่วยระงับกลิ่นปาก ทำให้ปากหอม ชุ่มคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ ขับเสมหะ ทำให้เสียงใส


         22. น้ำมันว่านสุมนไพร
                       สรรพคุณ ใช้ทาแก้น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แผลสด แผนกลาย แผลเน่าพุพอง กลากเกลื้อน ผดผื่นคัน โรคผิวหนังทุกชนิด ปวดหลัง ปวดเอว เคล็ดขัดยอกข้อมือ ข้อเท้า เส้นตึง เส้นตาย หืดหอบ ใช้ทาหน้าท้อง ลมในเส้นเดินไม่สะดวกทำให้มือเท้าชา แก้เหน็บชา

         23. น้ำมันว่านสมุนไพร
                      สรรพคุณ เจริญอาหาร บำรุงน้ำดี บำรุงร่างกาย ดับพิษร้อน แก้ดิบและม้านพิการ แก้เจ็บปวด-อักเสบจากพิษต่างๆ แก้ลมเข่าข้อ ด้านเชื้อไวรัสและมะเร็งได้

วิธีการใช้



        1. การปรุงยาสมุนไพร

            หลักการในการปรุงยาเป็นสิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ที่เห็นคุณค่า และความสำคัญของยาไทย ซึ่งปัจจุบันยังมีประชาชนส่วนหนึ่งสนใจ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน หากต้องการปรุงยาใช้เองในครัวเรือน วิธรการปรุงยาสมุนไพรมีทั้งทั้ง 25 วิธี หากต้องศึกษา โปรดดูภาคผนวก
           ถึงแม้ว่าวิธีการปรุงยาตามตำราเวชศึกษา จะระบุไว้ถึง 25 วิธีก็ตาม แต่สำหรับประชาชนโดยทั่วไปอาจทำได้บางวิธี จากการเรียนรู้ วิธีปรุงยาง่ายๆ จะช่วยให้การใช้สมุนไพรสะดวกขึ้นปรุงยาที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่ การต้ม การชง การฝน การพอก ยาลูกกลอนน้ำผึ้ง ฯลฯ



            การปรุงยา 


            เป็นการสกัดเอาตัวยาออกจากพืชให้มากที่สุด โดยใช้น้ำ น้ำมัน หรือ เหล้า ด้วยวิธีการต้ม ชง ดอง ฝน บดเป็นผล ปั้นเป็นลูกกลอน ตำคั้นเอาน้ำเป็นต้น  
              -  ยาต้ม    เป็นการปรุงยาสมุนไพรด้วยความร้อนที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย 

            -  ยาชง   เป็นการปรุงยาโดยใช้สมุนไพรแห้งเติมด้วยน้ำร้อนลงไปเป็นตัวทำละลายส่วนใหญ่จะใช้กับส่วนของสมุนไพรที่บอบบาง อ่อนนุ่ม เช่น ดอก ใบ ไม่ต้องใช้ต้มตัวยาก็ละลายออกมาได้
        - ยาลูกกลอนน้ำผึ้ง   เป็นการปรุยาโดยใช้ยาผงผสมกับน้ำผึ้งให้เป็นเม็ด  ยาลูกกลอนน้ำผึ้งมีลักษณะกลมการแตกตัวช้า  ออกฤทธิ์ได้นาน มักใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อรังและโรคที่ต้องการบำรุ น้ำผึ้งที่ใช้ผสมจะเป็นตัวช่วยปรุงรสให้รสชาติรับประธานง่ายขึ้นช่วยบำรุงร่างกาย
           -  ยา  ตำคั้นเอาแต่น้ำใช้สมุนไพรมาตำให้ระเอียดที่สุด คั้นเอาแต่น้ำมาใช้ กากทิ้งไป สมุนไพรที่ใช้มักเป็นส่วนของพืชที่มีน้ำมาก ตำให้แหลกได้ง่าย น้ำยาที่ได้จะมีกลิ่นรสรุนแรงยามีความเข้มข้นมาก
              -  ยาฝน   เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากวิธีหนึ่ง การฝนยาใช้ขันใส่น้ำสะอาดลงไป จุ่มหินลับมีดขนาดเล็กลง ไปในน้ำ ให้หินโผล่เหนือน้ำเล็กน้อย  ฝนยากับหินมีจนได้น้ำยาสีขุ่นข้นเล็กน้อยหากไม่ฝน กับหินลับมัด  อาจฝนกับฝาละมีที่ใส่น้ำลงไป โดยตรงเลยก็โดยทั่วไป ยาฝนจะรับประทาน ครั้งละ 1 แก้ว
         - ยาพอก   เป็นยาที่ใช้ภายนอก เตรียมโดยเอาสมุนไพรสดมาตำให้ละเอียด ผสมเหล้าเป็นน้ำ   กระสายยาเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้นคนให้เข้ากันจากนั้นจึงนำยาไปพอกอวัยวะที่ต้องการรักษา

ข้อควรระวัง


1. โรคและอาการที่แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพร

  โรคและอาการที่แนะนำให้ใช้ยาสมุนไพรนั้น เป็นโรคที่มีอาการเบื้องต้น พบได้บ่อยๆ อาการไม่รุนแรงนัก ได้แก่
-    อาการท้องผูก
-    อาการท้องเสียแบบไม่รุนแรง
-    อาการท้องอืด เฟ้อ แน่นจุกเสียด
-    บิด
-    คลื่นไส้ อาเจียน
-    ไข้
-    พยาธิลำไส้
-    อาการไอ มีเสมหะมาก
-    อาการขัดปัสสาวะ
-    อาการนอนไม่หลับ
-    อาการเคล็ดขัดยอด
-    อาการแพ้ อักเสบ ถูกแมลงมีพิษ สัตว์ กัดต่อย
-    ฝี แผลพุพอง
-    โรคกลาก เกลื้อน
-    แผลไฟไหม้ ถูกน้ำร้อนลวก
-    เหา



2. โรคและอาการที่ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร

 โรคและอาการที่ไม่ควรใช้ยาสมุนไพรเป็นโรคที่มีอาการรุนแรง การใช้ยาสมุนไพรอาจเกิดอันตรายได้ ได้แก่
-     ไข้สูง ตาแดง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก ซึม มีอาการแพ้
-     ไข้สูง อ่อนเพลียมาก ตัวเหลือง เจ็บบริเวณชายโครง
-     อาเจียนหรือไอเป็นโลหิต
-     ท้องเดินอย่างแรง อุจจาระเป็นน้ำ มีอาการอ่อนเพลียจัด
-     มีอาการตกเลือดสดๆ ไม่ว่าจะเป็นจากอวัยวะส่วนใด
-     ปวดท้อง หรือปวดภายในช่อท้องอย่างรุนแรง มีอาการไข้ และคลื่นไส้อาเจียน
-     ปวดบริเวณสะดือ หน้าท้องแข็ง ถ้าเอามือกดจะปวดมากขึ้น ท้องผูกมีไข้
-     เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี มีไข้สูง ไอมาก หายใจมีเสียงผิดปกติ บางครั้งอาการหน้าเขียว

อาการดังที่กล่าวมา ถ้าเกิดขึ้นต้องไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยารับประทานเองหรือ ใช้ยาสมุนไพรบรรเทาอาการเป็นอันขาด

  
คณะผู้จัดทำ

                                                  นางสาววันเพ็ญ           สายแจ้             
                                                  นางสาววิภาพรรณ       นันต๊ะนา         
                                                  นายนัฐพล                   สมณะศักดิ์   
                                                  นายอธวัช                    มาผาบ            
                                                  นายอานนท์                 เสาร์สินธ์